เมนู

4. ภยเภรวสูตร


[27] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิ-
พราหมณ์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตามธรรมเนียมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
[28] ชาณุสโสณิพราหมณ์ครั้นนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ กุลบุตร
เหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านพระโคดม
ผู้เจริญ ท่านพระโคดมผู้เจริญทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น ทรง
มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ทรงชักชวนกุลบุตรเหล่านั้น และ
ประชุมชนนั้นย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านพระโคดมผู้เจริญหรือ ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตร
เหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะเรา เราเป็นหัวหน้า
ของกุลบุตรเหล่านั้น มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ชักชวนกุลบุตร
เหล่านั้น และประชุมชนนั้นย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของเรา.
[29] ชาณุสโสณิพราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม
เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ
ที่โดดเดี่ยว ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะชัก
พาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นพราหมณ์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้นพราหมณ์ เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะ

เป็นอยู่ได้ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้
ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะชักพาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.
[30] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้นั่นเองได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัดที่
เป็นป่าและป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย
ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะซักพาใจของ
ภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.
[31] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้อง
ความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือมีกายกรรม
ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุ. ส่วนเราหาใช่ผู้มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะ
เหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็น
ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูก่อน
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในคน จึงถึงความ
เป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[32] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ . . . มีมโนกรรมไม่
บริสุทธิ์ . . .มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่า
เปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความ
ขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือมีอาชีวะไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ.

ส่วนเราหาใช่ผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า และ
เป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใดมีอาชีวะ
บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ
อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมี
อาชีวะบริสุทธิ์นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า
[33] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความอยากได้มาก มีราคะกล้า ในกาม
ทั้งหลาย เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล
เพราะโทษของตน คือมีความอยากได้มาก และมีราคะกล้าในกามทั้งหลาย
เป็นเหตุ. ส่วนเราหาใช่ผู้มีความอยากได้มาก มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย
เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ไม่มีความ
อยากได้มาก. พระอริยะเหล่าใด ไม่มีความอยากได้มาก เสพเสนาสนะ
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็น
องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความไม่มีความอยากได้มากนี้ใน
ตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[34] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตพยาบาทมีความดำริในใจชั่วเสพเสนาสนะ
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ
ความมีจิตพยาบาทและมีความดำริในใจชั่วเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีจิต
พยาบาท มีความดำริในใจชั่ว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็น

ป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา. พระอริยะเหล่าใด มีจิต
ประกอบด้วยเมตตา เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด
ซึ่งความมีจิตประกอบด้วยเมตตานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดย
ยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[35] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพเสนาสนะอัน
สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียก
ร้องความกลัวและควานขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือถูก
ถีนมิทธะกลุ้มรุมเป็นเหตุ. ส่วนเราหาถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพ
เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปราศจากถีน-
มิทธะ. พระอริยะเหล่าใด ปราศจากถีนมิทธะ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น
ป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อน
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งควานปราศจากถีนมิทธะนี้ในตน จึงถึงความเป็น
ผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[36] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ เสพเสนาสนะ
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ
ความฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบระงับเป็นเหตุ. ส่วนเราหาฟุ้งซ่าน มีจิตไม่
สงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็น
ผู้มีจิตสงบระงับแล้ว. พระอริยะเหล่าใด มีจิตสงบระงับ เสพเสนาสนะ

อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็น
องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมีจิตสงบระงับนี้ในตน จึง
ถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[37] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความสงสัยเคลือบแคลง เสพเสนาสนะอัน
สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ
มีความสงสัยและเคลือบแคลงเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีความสงสัยเคลือบแคลง
เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ข้ามพ้น
ความเคลือบแคลงเสียแล้ว. พระอริยะเหล่าใด ข้ามพ้นความเคลือบแคลง
เสียแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ
อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ
ข้ามพ้นความเคลือบแคลงนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่อ
อยู่ในป่า.
[38] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยกตนข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น
ป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความ
กลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือความยกตน
และข่มผู้อื่นเป็นเหตุ ส่วนเราหายกตนข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. พระอริยะ
เหล่าใด เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อน

พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นนี้ในตน จึงถึงความ
เป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[39] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งความขลาด
เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษ
ของตน คือมีความหวาดหวั่นและมีชาติแห่งคนขลาดเป็นเหตุ. ส่วนเรา
หาเป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปราศจากความหวาดกลัว พระอริยะเหล่าใด
ปราศจากความหวาดกลัว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด
ซึ่งความปราศจากความหวาดกลัวนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดย
ยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[40] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ
เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษ
ของตน คือ ความปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นเหตุ. ส่วน
เราหาปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น
ป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. พระอริยะเหล่าใด
มีความปรารถนาน้อย เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่งดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง
ความปรารถนาน้อยนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่งเพื่ออยู่ในป่า.

[41] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ย่อม
เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะ
โทษของตน คือความเป็นผู้เกียจคร้านและมีความเพียรเลวทรามเป็นเหตุ
ส่วนเราหาเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระอริยะ
เหล่าใด ปรารภความเพียร เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่า
เปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์
เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ปรารภความเพียรนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขน
เรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[42] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเสพ
เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน
คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและไม่มีสัมปชัญญะเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีสติ
ลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
ไม่ เราเป็นผู้มีสติตั้งมั่น. พระอริยะเหล่าใด มีสติตั้งมั่น เสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่าหั้น เราก็เป็น
องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นนี้ในตน
จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[43] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ย่อมเสพ
เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ
ของตน คือความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น และมีจิตหมุนไปผิดเป็นเหตุ.
ส่วนเราหามีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ. พระอริยะเหล่าใด
ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด
ซึ่งความถึงพร้อมด้วยสมาธินี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง
เพื่ออยู่ในป่า.
[44] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญาทราม เป็นใบ้ ย่อมเสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ
ความเป็นผู้มีปัญญาทรามและเป็นใบ้เป็นเหตุ. ส่วนเราหามีปัญญาทราม
เป็นใบ้ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อมด้วยปัญญา เสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็
เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความถึงพร้อมด้วยปัญญานี้
ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
จบ ปริยาย 16

[45 ] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า ไฉนหนอ
เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่ 14 ที่ 15 และที่ 8
แห่งปักษ์ เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์
รุกขเจดีย์ น่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร
เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูก่อนพราหมณ์ โดยสมัยอื่น
เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่ 14 ที่ 15 และที่ 8
แห่งปักษ์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์
รุกขเจดีย์ น่าสะพึงกลัวน่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูก่อนพราหมณ์
ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะ. เห็นปานนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมา
ก็ดี หรือว่าลมพัดใบไม้แห้งก็ดี. เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า ความกลัว
และความขลาดนั้น นั่นมาเป็นแน่ล่ะพราหมณ์. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้น
ได้มีความดำริดังนี้ว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้ปรารถนาภัยอยู่โดยแท้
ไฉนหนอ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไร ๆ
เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้น ๆ แลพึงกำจัดความกลัวและความขลาดอย่างนั้นเสีย
ดูก่อนพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู่กำลัง
เดินจงกรมอยู่. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นจะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย
ตราบเท่าที่เรายังเดินจงกรม กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น
ย่อมมา. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นจะไม่เดินจงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย
ตราบเท่าที่เรายังยืน กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น
ย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายัง

นั่งกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่.
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น
ย่อมมา เรานั้นจะไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอน
กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่.
[46] ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำคัญ
กลางคืนแท้ ๆ ว่า กลางวัน สำคัญกลางวันแท้ ๆ ว่า กลางคืน เราย่อม
กล่าวความสำคัญอย่างนี้ ในเพราะอยู่ด้วยความหลงของสมณพราหมณ์
เหล่านั้น. ดูก่อนพราหมณ์ ส่วนเราย่อมสำคัญกลางคืนว่ากลางคืน ย่อม
สำคัญกลางวันว่ากลางวัน. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกพึง
กล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกพึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า
สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
[47] ดูก่อนพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น
มีอารมณ์แน่วแน่ ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
อริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
[48] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียง
เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติ
ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่ 1 นี้แล เราได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิด กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิด
เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตน
ไปแล้วอยู่ฉะนั้น.

[49 ] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เรานั้น
เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกาย-
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ
การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ดังนี้. เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิว
พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้. ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้ว ในมัชฌิมยาม
แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิด กำจัดความมืดเสียได้ ความ
สว่างก็เกิด เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน
ส่งคนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.
[ 50 ] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้

อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อ
เรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่ 3 นี้แล
เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้แล้ว วิชชาก็เกิด
กำจัดความมืดเสียได้แล้ว ความสว่างก็เกิด เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.
[ 51 ] ดูก่อนพราหมณ์ บางคราว ท่านจะพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
แม้วันนี้พระสมณโคดมยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะ แน่นอน เพราะฉะนั้น จึงยังเสพเสนาสนะอันสงัด
ทั้งที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ดังนี้ . ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ท่านอย่าเห็น
อย่างนั้นเลย เราเห็นอำนาจประโยชน์ 2 อย่าง คือ เห็นความอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบันของตน 1 อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลัง 1
จึงเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว.
[52] ชาณุสโสณิพราหมณ์ กราบทูลว่า ประชุมชนผู้เกิด
ณ ภายหลังนี้ เป็นอันท่านพระโคดมอนุเคราะห์อยู่แล้ว เพราะท่านเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า

ผู้มีจักษุดีจักเห็นรูปฉะนั้น. ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญ พระ
ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญจงจำ
ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบ ภยเภรวสูตร ที่ 4

อรรถกถาภยเภรวสูตร


( 27 ) ภยเภรวสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ความหมายของคำว่า "พราหมณ์"


ในภยเภรวสูตรนั้นมีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่าอวิจเฉทนะ (ไม่ขาดสาย
สืบต่อมา) ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต (เหมือนกัน)ใช้ในความหมายว่า อวธาร-
ณะ ห้ามความหมายอื่น. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุง
สาวัตถี
ไม่ขาดตอนเลย. คำว่า ชาณุสโสณี นั้นไม่ใช่ชื่อที่บิดามารดา
ของพราหมณ์นั้นตั้งให้ แต่ว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากการได้ตำแหน่ง. ว่ากันว่า
ตำแหน่งชาณุสโสณีนั้นเป็นตำแหน่งปุโรหิต. พระราชาได้พระราชทาน
ตำแหน่งปุโรหิตนั้นให้แก่เขาฉะนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า ชาณุสโสณี.
บุคคลที่ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีความหมายว่า เปล่งเสียงว่า
พรหมะ อธิบายว่า ได้แก่สาธยายมนต์. ก็คำว่า พราหมณ์นั้นเป็นภาษา
เรียกคนที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เรียกว่า
พราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว.

สัมโมทนียกถา - สาราณียกถา


คำว่า เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ
ใช้ในความหมายแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความหมายใน
คำนี้ อย่างนี้ว่า ยตฺถ ภควา อุปสงฺกมิ (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า